wkkschool
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
wkkschool

โรงเรียนวัดเขียนเขต


You are not connected. Please login or register

เตือนพรุ่งนี้น้ำเหนือทะลักกรุงเทพ - เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วม

Go down  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Admin

Admin
Admin

http://hilight.kapook.com/view/52936

สถานการณ์น้ำท่วมยังคงน่าเป็นห่วง โคราชน้ำท่วมหนักสุดรอบ 50 ปี ทางด้านเขื่อนลำตะคองไม่สามารถรับน้ำไหวแล้ว ขณะที่กรุงเทพฯ เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม หลังมีรายงานว่า น้ำเหนือไหลมาสมทบที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทำให้ต้องระบายน้ำลงมาในแม่น้ำเจ้าพระยาคาดน้ำจะทะลักเข้าท่วมกรุงเทพฯ 20 ตุลาคมนี้

ขณะที่ล่าสุดมีรายงานว่า จระเข้ฟาร์มสีคิ้วหลุดจากฟาร์ม 50 ตัว เพิ่งจับได้ 2 ตัว



น้ำท่วมโคราช หนักสุดรอบ 50 ปี

สถานการณ์น้ำท่วมยังคงน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งวิกฤติสุดในรอบ 50 ปี โดยช่วงค่ำวันที่ 18 ตุลาคม) ประชาชนจำนวนมากต้องประสบกับความยากลำบาก ทั้งนี้ สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายแล้วรวม 5 ราย และมีผู้ได้รับความเดือดร้อนแล้วร่วม 100,000 คน ขณะที่บรรยากาศเทศบาลนครนครราชสีมา ยังคงมีฝนตกโปรยปรายเป็นระยะ และอากาศบนท้องฟ้ายังมืดครึ้มตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ (19 ตุลาคม)







ขณะที่วันนี้โรงพยาบาลมหาราชเตรียมแผนอพยพผู้ป่วยหนักไปรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์จังหวัดขอนแก่น จากออกซิเจนสำรองที่มีอยู่ใกล้หมด และรถออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปภายในโรงพยาบาลได้ ขณะเดียวกันห้องไฟฟ้าสำรองของโรงพยาบาลก็มีน้ำซึมเข้าไปท่วมขัง

ทางด้านนายแพทย์ชัชวาล ลีลาเจริญพร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิมาย กล่าวยืนยันว่า ทางโรงพยาบาลยังสามารถให้บริการผู้ป่วยได้ทุกประเภท เครื่องมือต่าง ๆ ยังสามารถใช้งานได้ โดยคนไข้ที่ไม่สามารถส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาได้และถูกส่งมารักษาตัวที่โรงพยาบาลพิมาย ทางทีมแพทย์ก็จะประเมินอาการ หากอาการไม่หนักมากนัก ก็จะรับตัวไปรักษา แต่หากอาการหนัก ก็อาจจะพิจารณานำส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง

พร้อมกันนี้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิมาย กล่าวยอมรับว่า ออกซิเจนเหลวที่ใช้กับผู้ป่วยที่ต้องทำการผ่าตัด จึงอยู่ได้เพียงแค่ 2-3 วัน เนื่องจากเส้นทางคมนาคมขนส่งไม่สามารถใช้งานได้ ในขณะนี้ ซึ่งทางโรงพยาบาลพิมาย มีผู้ป่วยที่ต้องใช้ออกซิเจนเหลว อยู่ 4-5 ราย

ขณะที่อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า หากไม่มีพายุลูกใหม่เข้ามาอีก น้ำจะท่วมขังโรงพยาบาลประมาณ 10-15 วัน แต่หากได้รับผลกระทบจากพายุลูกใหม่ซึ่งจะเข้ามาประมาณวันที่ 23-24 ตุลาคมนี้ โรงพยาบาลจะเผชิญปัญหาน้ำท่วมยาวนานถึง 1 เดือน

ทางด้าน นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ทางเจ้าหน้าที่ได้เฝ้าระวัง ปัญหาน้ำท่วมขังมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม โดยพบว่า จะเกิดน้ำท่วมสูงอย่างหนักจำนวน 5 ครั้ง โดยวิกฤติร้ายแรงที่สุดคือน้ำท่วมในจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะในช่วง 3-4 วันนี้ จะมีน้ำป่าจากเขาใหญ่ไหลลงมาอย่างหนัก ซึ่งขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคอง ไม่สามารถรองรับน้ำได้แล้ว ส่งผลให้มีน้ำท่วมในหลายอำเภอ

ทางด้าน นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวภายหลังเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปสถานการณ์น้ำท่วม ว่า เตรียมนำข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมเสนอ นายดิสธร วัชโรทัย ประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งจะเดินทางมาตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลมหาราชบ่ายวันนี้ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา









เตือนจังหวัดที่น้ำจากป่าสักชลสิทธิ์ แม่น้ำมูล แม่น้ำน้ำพระยาไหลผ่าน

ทั้งนี้ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้ง 2 ฝั่ง ต้องเตรียมความพร้อม เรื่องน้ำทะเลหนุนและปริมาณน้ำจากเขื่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงนี้ เนื่องจากเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จำเป็นต้องเร่งระบายน้ำ

ประกอบกับช่วงวันที่ 23-26 ตุลาคม ถือเป็นช่วงที่เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุด กรมชลประทานจึงขอเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักให้เตรียมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม









เตือน 20 ต.ค. น้ำเหนือทะลักท่วมกรุงเทพ

ขณะที่กรุงเทพฯ เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม หลังมีรายงานว่า น้ำเหนือไหลมาสมทบที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทำให้ต้องระบายน้ำลงมาในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้คาดการณ์ว่าช่วงบ่ายของวันที่ 20 ต.ค. น้ำจึงจะไหลลงมาถึงกรุงเทพฯ โดยมีการเตรียมสถานีสูบน้ำ 157 แห่ง และประตูระบายน้ำอีก 214 แห่ง ระบายน้ำ ส่วนจุดที่คาดว่าอาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้ อาทิ รัชดาฯ ลาดพร้าว บางนา ศรีนครินทร์


สถานการณ์น้ำท่วม จ.อ่างทอง

น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ อ.ป่าโมก 2 ตำบล โดยประชาชนใน อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ต้องช่วยกันเร่งบรรจุกระสอบทรายเพื่อทำเป็นคันกั้นน้ำ หลังพบว่าระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บางจุดสูงจนเกิดคันกั้นน้ำและเริ่มทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ทั้งนี้ จากการที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะระบายน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากระดับน้ำบางจุดได้สูงกว่าระดับวิกฤติแล้ว

สถานการณ์น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา

น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำน้อยเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มการเกษตรใน 5 อำเภอ 54 ตำบล 297 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 4,494 ครัวเรือน 13,977 คน ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา บางไทร มหาราช ผักไห่ และบางบาล ขณะที่คนงานกรมศิลปากรกว่า 50 คน ต้องเร่งช่วยกันนำกระสอบทรายไปเสริมแนวบังเกอร์คอนกรีตบริเวณวัดธรรมาราม ซึ่งภายในวัดมีหอพระไตรปิฎกเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา หลังพบระดับน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นเหลืออีกเพียง 10 เซนติเมตร ก็จะเลยแนวกั้น

สถานการณ์น้ำท่วม จ.ปราจีนบุรี

น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาดี และกบินทร์บุรี ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ ขณะที่นางร่ม นุชนารถ อายุ 60 ปี และลูกชายอายุ 47 ปี ชาวชุมชนโรงสี เขตเทศบาลกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ต้องนำที่นอนผืนเล็ก มาปูบนแคร่ใต้ร่มไม้ข้างถนน เพื่อใช้เป็นที่หลับนอน โดยมีสังกะสีเก่าเพียงแผ่นเดียวไว้กันฝน หลังบ้านถูกน้ำท่วม จนไม่สามารถพักอาศัยได้เป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน ทำให้ความเป็นอยู่เป็นไปอย่างยากลำบาก

โดยนางร่ม เล่าว่า หลังเกิดน้ำท่วมยังไม่มีหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยเหลือ แม้แต่หน่วยงานเดียว หากมีฝนตกลงมาความเป็นอยู่จะลำบากยิ่งขึ้น เนื่องจาก มีเพียงสังกะสีเก่าแผ่นเดียวใช้กันฝน จึงอยากให้น้ำลดเร็วที่สุด เพื่อจะได้กลับเข้าไปอยู่บ้าน

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายครอบครัวต้องอพยพมาอยู่ริมถนน โดยน้ำเต็นท์มากางเป็นที่นอน แต่สภาพความเป็นอยู่แออัดยัดเยียด เนื่องจาก เป็นครอบครัวใหญ่และมีเต็นท์เพียงหลังเดียว ขณะสถานการณ์น้ำท่วมชุมชนตลาดเก่ากบินทร์บุรี และตลาดเจ้าสำอาง ย่านธุรกิจสำคัญ ยังคงมีน้ำไหลหลากเข้าท่วมอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และชุมชนตลาดเก่า ระดับน้ำสูงถึง 1 เมตร 90 เซนติเมตร

สถานการณ์น้ำท่วม จ.พิจิตร

น้ำในแม่น้ำยมเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งใน 4 อำเภอ 14 ตำบล ได้แก่ อ.สามง่าม อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.บึงนางราง และ อ.โพทะเล

สถานการณ์น้ำท่วม จ.ชัยนาท

น้ำท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ 17 ตำบล 175 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เนินขาม อ.หันคา และ อ.สรรพยา

สถานการณ์น้ำท่วม จ.เพชรบุรี

น้ำท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ 79 ตำบล ขณะนี้ยังคงมีน้ำท่วมขัง 2 อำเภอ ได้แก่ อ.บ้านแหลม และอ.บ้านลาด

สถานการณ์น้ำท่วม จ.ระยอง

น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองระยอง และ อ.วังจันทร์

สถานการณ์น้ำท่วม จ.ตราด

เกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เกาะช้าง และ อ.แหลมงอบ

สถานการณ์น้ำท่วม จ.สระแก้ว

น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ 10 ตำบล ได้แก่ อ.อรัญประเทศ อ.วังน้ำเย็น อ.ตาพญา และ อ.โคกสูง

สถานการณ์น้ำท่วม จ.ลพบุรี

น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ 75 ตำบล ได้แก่ อ.เมืองลพบุรี อ.โคกสำโรง อ.ชัยบาดาล อ.พัฒนานิคม อ.ลำสนธิ อ.ท่าหลวง อ.หนองม่วง อ.สระโบสถ์ อ.โคกเจริญ อ.บ้านหมี่ และอ.ท่าวุ้ง

สถานการณ์น้ำท่วม จ.นครสวรรค์

น้ำท่วมในพื้นที่ อ.ท่าตะโก รวม 3 ตำบล ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ

สถานการณ์น้ำท่วม จ.ชัยภูมิ

น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.บำเหน็จณรงค์ และ อ.จัตุรัส ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ

สถานการณ์น้ำท่วม จ.สระบุรี

น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองสระบุรี อ.หมวกเหล็ก และ อ.เสาไห้ ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ

สถานการณ์น้ำท่วม จ.ศรีสะเกษ

น้ำล้นสปริงเวย์เข้าท่วมในพื้นที่ตำบลกันทรอม อ.ขุนหาญ ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ

สถานการณ์น้ำท่วม จ.นครนายก

น้ำท่วมใน อ.บ้านนา 2 ตำบล ราษฎรเดือดร้อน 500 ครัวเรือน 1500 คน

สถานการณ์น้ำท่วม จ.เพชรบูรณ์

น้ำท่วมในพื้นที่ อ.วิเชียรบุรี รวม 14 ตำบล





แผนที่น้ำท่วมกรุงเทพ จาก Google map



เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ประสานงานเหตุอุทกภัย

- ศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ติดต่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 1784

- ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย จ.นครราชสีมา โทร 044-342-652 ถึง 4 และ 044-342-570 ถึง 7

- ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ โทรฟรี 1669 หรือ 02-591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง

- สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร 1690

- สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 02-398-9830

- กฟภ.ตั้งศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 นครราชสีมา โทร.044214334-5 หรือ CallCenter1129

- สอบถามน้ำท่วม ถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่โทร 044-242047 ต่อ 21, 044-212200, 037-211098, 036-461422, 036-211105 ต่อ 24

คำแนะนำจากสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย สำหรับผู้บริจาคขณะเกิดอุทกภัย

1. หากผู้บริจาคประสงค์จะบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

สามารถบริจาคทาง ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทย" ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ประเภทออมทรัยพ์ เลขที่ 045-2-88000-6 ระบุ ในสลิปโอนเงินว่า เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้บริจาคให้ชัดเจน แล้ว Fax ใบสลิปนั้นมาที่เบอร์ 0-2250-0120 เพื่อออกใบเสร็จ

2. หากผู้บริจาคประสงค์ที่จะบริจาคเป็นเครื่องอุปโภค-บริโภค

สามารถบริจาคได้ที่ อาคารสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) เบอร์โทรศัพท์ 0-2251-7853 ต่อ 1603,1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302

3. หากประสงค์จะมาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ

บางครั้งเราอาจต้องการผู้มีกำลังมาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) หากเป็นชายก็จะดีมาก

ถ้าผู้มีจิตศรัทธาประสงค์จะมาช่วยแรง ให้โทรมาที่ เบอร์ 0-251-7853 ต่อ 1603 เพื่อลงทะเบียนชื่อ และเบอร์โทรศัพท์ไว้ หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆไป

https://wkks.thai-forum.net

ขึ้นไปข้างบน  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ