wkkschool
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
wkkschool

โรงเรียนวัดเขียนเขต


You are not connected. Please login or register

เรื่องเล่าเร้าพลัง : นายพงศพิชญ์ แก้วกุลธร

2 posters

Go down  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Pongsapich Kaewkulthorn



สมองซ้าย - ขวา กับการเรียนรู้ดนตรี

สมองเป็นอวัยวะสำคัญที่สร้างการเรียนรู้ให้กับมนุษย์ โดยมีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน และถ้าเป็นมนุษย์ที่มีร่ายกายและจิตใจที่สมบูรณ์แล้ว สมองก็จะสามารถทำงานและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ การทำงานของสมองนั้นแบ่งเป็น 2 ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวา สมองซีกซ้ายเป็นกลุ่มของการวิเคราะห์ เหตุผล ภาษา ส่วนสมองซีกขวาเป็นเรื่องของจินตนาการ ดนตรี ศิลปะ การแสดง แต่เมื่อผมได้เข้าไปศึกษาเกี่ยวกับดนตรีแล้ว ผมมีความสงสัยและคิดแตกต่างไปจากนั้น ว่าดนตรีมีความวิเศษทางความคิด

การจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรี เรามุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีของดนตรีนั่นก็เป็นจุดประกายความคิดแรกที่ต้องอาศัยสมองซีกซ้ายมาทำงานยังต้องรวมกับความเข้าใจทางการปฎิบัติดนตรี ดนตรีจำเป็นต้องสื่อภาษาทางเสียงซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นวัจนภาษาและบางครั้งอาจจะเป็นอวัจนภาษาหรือเป็นได้ทั้งสองอย่างก็ได้ ซึ่งอวัจนภาษาเป็นจุดที่สร้างจินตนาการมากที่สุด ผู้ใดที่ฟังเพลงแล้วเข้าถึงจินตนาการของเพลงแสดงว่าผู้นั้นเข้าถึงจุดมุ่งหมายของผู้แต่งเพลง

นักเรียนจะสามารถเข้าใจถึงดนตรีอย่างท่องแท้ได้จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องการวิเคราะห์เพลงและความเป็นสัดส่วนของเพลงโดยต้องใช้สมองซีกซ้ายร่วมกับสมองซีกขวาพูดง่ายๆคือต้องเข้าใจทั้ง 2 อย่างในเวลาเดียวกัน รวมถึงการจดจำเพลงด้วย จะเห็นได้ว่านักดนตรีโดยเฉพาะนักดนตรีไทยต้องมีความจำเป็นเลิศจึงจะสามารถจดจำเนื้อเพลงได้ ทั้งนี้ก็ต้องทราบว่าดนตรีคือการแสดงอย่างหนึ่ง ต้องสร้างความประทับใจแก่ผู้ชมผู้ฟัง นักดนตรีจะต้องเป็นนักคิดล่วงหน้า จินตนาการให้ออก รวมกับสถานการณ์ที่ต้องเผชิญ ในสภาวะนั้นสมองต้องทำงานประสานกันระหว่างซีกซ้ายและซีกขวาอย่างหนัก และแรงตื้นเต้น อาการสั่นจะเกิดขึ้นกับผู้แสดง จึงมีผู้กล่าวว่า “ดนตรีจะออกแสดงต้องฝึกซ้อมเกินร้อยถึงจะแสดงได้ร้อยเปอร์เซ็น” จากภาพสมองที่นำมาประกอบการเขียนพบว่ามีสะพานข้ามไปมาระหว่างสมอง กลุ่มดนตรีจะต้องอยู่บริเวณนั้นเพื่อใช้สมองทั้ง 2 ซีก ในการทำงานและจะได้ดนตรีที่มีประสิทธิภาพไปสู่ผู้ฟัง

เรื่องเล่าเร้าพลังฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงการศึกษาดนตรี ว่ามีแนวทางการศึกษาที่ซับซ้อนและต้องอาศัยความขยัน ตั้งใจ อารมณ์ และสมองทั้ง 2 ซีก ทำงานประสานกัน จึงจะเกิดเสียงดนตรีที่เข้าถึงผู้ฟัง นำมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรีให้นักเรียนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมนักเรียนให้เข้าใจและพัฒนาความคิดนักเรียนให้เกิดการพัฒนาสมองโดยใช้ดนตรีเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่จะทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ “ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก”

sunan

sunan

Pongsapich Kaewkulthorn พิมพ์ว่า:สมองซ้าย - ขวา กับการเรียนรู้ดนตรี

สมองเป็นอวัยวะสำคัญที่สร้างการเรียนรู้ให้กับมนุษย์ โดยมีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน และถ้าเป็นมนุษย์ที่มีร่ายกายและจิตใจที่สมบูรณ์แล้ว สมองก็จะสามารถทำงานและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ การทำงานของสมองนั้นแบ่งเป็น 2 ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวา สมองซีกซ้ายเป็นกลุ่มของการวิเคราะห์ เหตุผล ภาษา ส่วนสมองซีกขวาเป็นเรื่องของจินตนาการ ดนตรี ศิลปะ การแสดง แต่เมื่อผมได้เข้าไปศึกษาเกี่ยวกับดนตรีแล้ว ผมมีความสงสัยและคิดแตกต่างไปจากนั้น ว่าดนตรีมีความวิเศษทางความคิด

การจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรี เรามุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีของดนตรีนั่นก็เป็นจุดประกายความคิดแรกที่ต้องอาศัยสมองซีกซ้ายมาทำงานยังต้องรวมกับความเข้าใจทางการปฎิบัติดนตรี ดนตรีจำเป็นต้องสื่อภาษาทางเสียงซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นวัจนภาษาและบางครั้งอาจจะเป็นอวัจนภาษาหรือเป็นได้ทั้งสองอย่างก็ได้ ซึ่งอวัจนภาษาเป็นจุดที่สร้างจินตนาการมากที่สุด ผู้ใดที่ฟังเพลงแล้วเข้าถึงจินตนาการของเพลงแสดงว่าผู้นั้นเข้าถึงจุดมุ่งหมายของผู้แต่งเพลง

นักเรียนจะสามารถเข้าใจถึงดนตรีอย่างท่องแท้ได้จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องการวิเคราะห์เพลงและความเป็นสัดส่วนของเพลงโดยต้องใช้สมองซีกซ้ายร่วมกับสมองซีกขวาพูดง่ายๆคือต้องเข้าใจทั้ง 2 อย่างในเวลาเดียวกัน รวมถึงการจดจำเพลงด้วย จะเห็นได้ว่านักดนตรีโดยเฉพาะนักดนตรีไทยต้องมีความจำเป็นเลิศจึงจะสามารถจดจำเนื้อเพลงได้ ทั้งนี้ก็ต้องทราบว่าดนตรีคือการแสดงอย่างหนึ่ง ต้องสร้างความประทับใจแก่ผู้ชมผู้ฟัง นักดนตรีจะต้องเป็นนักคิดล่วงหน้า จินตนาการให้ออก รวมกับสถานการณ์ที่ต้องเผชิญ ในสภาวะนั้นสมองต้องทำงานประสานกันระหว่างซีกซ้ายและซีกขวาอย่างหนัก และแรงตื้นเต้น อาการสั่นจะเกิดขึ้นกับผู้แสดง จึงมีผู้กล่าวว่า “ดนตรีจะออกแสดงต้องฝึกซ้อมเกินร้อยถึงจะแสดงได้ร้อยเปอร์เซ็น” จากภาพสมองที่นำมาประกอบการเขียนพบว่ามีสะพานข้ามไปมาระหว่างสมอง กลุ่มดนตรีจะต้องอยู่บริเวณนั้นเพื่อใช้สมองทั้ง 2 ซีก ในการทำงานและจะได้ดนตรีที่มีประสิทธิภาพไปสู่ผู้ฟัง

เรื่องเล่าเร้าพลังฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงการศึกษาดนตรี ว่ามีแนวทางการศึกษาที่ซับซ้อนและต้องอาศัยความขยัน ตั้งใจ อารมณ์ และสมองทั้ง 2 ซีก ทำงานประสานกัน จึงจะเกิดเสียงดนตรีที่เข้าถึงผู้ฟัง นำมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรีให้นักเรียนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมนักเรียนให้เข้าใจและพัฒนาความคิดนักเรียนให้เกิดการพัฒนาสมองโดยใช้ดนตรีเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่จะทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ “ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก”

http://sunanjum.ning.com

ขึ้นไปข้างบน  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ