wkkschool
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
wkkschool

โรงเรียนวัดเขียนเขต


You are not connected. Please login or register

เรื่องเล่าเร้าพลัง

Go down  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

nutt6038



เรื่องเล่าเร้าพลัง
1. ชื่อผู้นำเสนอ : นายอำนาจ จงเทพ ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย สังกัด โรงเรียนวัดเขียนเขต
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2
2. ชื่อผลงาน : ความหมายของคำซ้ำ
3. ผลงานที่สะท้อนจากผลงาน :
3.1 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำซ้ำมากขึ้น
3.2 นักเรียนสามารถบอกความหมายของคำซ้ำได้
3.3 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อรายวิชาภาษาไทยเพิ่มมากขึ้น
3.4 นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับความหมายของคำซ้ำในรายวิชาภาษาไทยมากขึ้น
4. แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดผลงานที่นำเสนอ
ความหมายของคำซ้ำ
คำซ้ำ เกิดจากการสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกัน มีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น เบาลงหรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ในการเขียนใช้ไม้ยมกแทนคำหลัง
คำส่วนมากใช้เป็นคำซ้ำได้ มีเฉพาะบางคำที่เป็นคำซ้ำไม่ได้ บางคำต้องเป็นคำซ้ำเท่านั้น
คำที่เป็นคำซ้ำไม่ได้
- กริยาช่วย เช่น จะ คง ได้ อาจ
- บุพบท เช่น ของ แห่ง ด้วย กับ
- สันธาน เช่น เมื่อ หลังจาก ตั้งแต่ และ แต่ หรือ จึง
คำที่ต้องเป็นคำซ้ำ ส่วนมากเป็นคำวิเศษณ์ เช่น หยิมๆ หลัดๆ ดิกๆ ยองๆ
นำคำซ้อนมาแยกเป็นคำซ้ำ เช่น เจ็บไข้ เป็น เจ็บๆ ไข้ๆ เลียบเคียง เป็น เลียบๆ เคียงๆ อิดเอื้อน เป็น อิดๆ เอื้อนๆ
3. นำคำซ้ำมาประกอบเป็นคำซ้อน เช่น เปรี้ยวๆ เค็มๆ นั่งๆ นอนๆ เราๆ ท่านๆ
4. คำซ้ำมีความหมายผิดไปจากคำมูลเดิม แต่ยังคงมีเค้าของความหมายเดิม
4.1 บอกพหูพจน์ คำเดิมอาจเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้ เมื่อเป็นคำซ้ำกลายเป็นพหูพจน์อย่างเดียว เช่น เด็กๆ เล่นฟุตบอล หนุ่มๆ มากับสาวๆ
4.2บอกความไม่เจาะจง การจำแนกเป็นพวก และความเป็นพหูพจน์ เช่นเชิญผู้ใหญ่ๆ ไปทางโน้น เด็กๆ มาทางนี้
5. บอกความหมายใหม่ ไม่เนื่องกับความหมายของคำมูลเดิมเช่น พื้นๆ (ธรรมดา) กล้วยๆ (ง่าย) น้องๆ (เกือบ, ใกล้, คล้าย) อยู่ๆ ( เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว )
งูๆปลาๆ
6. คำที่ออกเสียงซ้ำกัน ไม่ใช่คำซ้ำเสมอไป คำซ้ำจะต้องเป็นคำมูลที่ออกเสียงซ้ำกันแล้วเกิดคำใหม่ขึ้นและมีความหมายเปลี่ยนไป คำซ้ำใช้ไม้ยมกแทนคำมูลหลังคำที่ออกเสียงซ้ำกันในบางกรณีเป็นคนละคำและอยู่ต่างประโยคกัน ไม่จัดเป็นคำซ้ำและใช้ไม้ยมกแทนคำหลังไม่ได้ เช่น เขาทำงานเป็นเป็นเพราะเธอสอนให้ เขาจะไปหาที่ที่สงบอ่านหนังสือ
ในความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อวิชาภาษาไทยนั้น เราคงต้องยอมรับว่านักเรียนโดยส่วนใหญ่นั้นไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญในวิชาภาษาไทยมากเท่าใดนัก ทั้งๆ ที่เป็นภาษาประจำชาติของตอนเองนั้น อาจจะมีจากหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน บางคนอาจจะมองว่าเป็นรายวิชาที่ง่ายต่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจ นักเรียนบางคนอาจจะคิดว่าไม่มีความสำคัญเพราะเป็นภาษาที่มีการใช้มาตั้งแต่เกิดและเป็นภาษาที่รับรู้จากครอบครัวและโดยสัญชาติอยู่แล้ว นักเรียนจึงไม่ให้ความสำคัญในวิชาภาษาไทยเลย แต่ถ้าเรามองดูด้วยเหตุผลและอาศัยหลักการแล้วนั้น รายวิชาภาษาไทย เป็นวิชาที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิตและการดำรงชีวิตในปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันนี้มีการใช้ภาษาไทยไปในทางที่ผิดและมีการรับเอาวัฒนธรรมการใช้ภาษาของต่างประเทศเข้ามามาก จึงทำให้เด็กไทยมีการใช้ภาษาไทยผิดไปจากหลักการใช้ภาษาไทยจำนวนมากขึ้น
5. จุดเด่นของผลงาน
นักเรียนมีเจตคติที่ดีขึ้นต่อรายวิชาภาษไทย อีกทั้งเปิดใจกว้างมากขึ้นต่อการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้ โดยอาศัยหลักและวิธีการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพในการคิดและวิเคราะห์ ทำให้ให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนที่พึงประสงค์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และที่สำคัญเมื่อผู้เรียนนั้นมีใจเปิดกว้างที่จะยอมรับและเรียนรู้ในรายวิชาภาษไทยมากขึ้น และทำให้ผลการสอบระหว่างภาคเรียนนั้นสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น
6. เงื่อนไขที่ทำให้ผลงานประสบความสำเร็จ
6.1 ครูผู้สอนต้องเสริมแรงให้นักเรียนเพื่อให้เกิดความพร้อมและความสนใจในเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ และฝึกให้นักเรียนรักในการเรียนรายวิชาภาษาไทยมากขึ้น
6.2 ครูผู้สอนนำเทคนิคที่หลากหลายเข้ามาใช้ในการสอน
6.3 ครูผู้สอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนและความสนใจของผู้เรียน
6.4 สื่อ Power point,Video Clip, ที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนต้องมีความน่าสนใจ
7. การสรุปบทเรียน เพื่อการพัฒนาต่อยอด
กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ฝึกหัดให้นักเรียนรักในการเรียนรายวิชาภาษาไทยและให้ความสำคัญ สนใจในรายวิชาภาษาไทยมากยิ่งขึ้น ทำให้การเรียนการสอนผ่านไปได้ด้วยดี

ขึ้นไปข้างบน  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ