wkkschool
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
wkkschool

โรงเรียนวัดเขียนเขต


You are not connected. Please login or register

เรื่องเล่าเร้าพลัง

Go down  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

jumroon



เรื่องเล่าเร้าพลัง
โดย นางจำรูญ นรินโท ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดเขียนเขต

สภาพปัจจุบันและปัญหา
วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ผู้เรียนต้องใช้ทักษะหลาย ๆ ด้าน จากประสบการณ์การสอนคณิตศาสตร์หลายปีพบว่านักเรียนที่เรียนคณิตศาสตร์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เรียนแล้วเข้าใจสามารถทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้องจะชอบเรียน กลุ่มที่ 2 เรียนแล้วไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ จะเกิดปัญหานักเรียนลอกการบ้าน และไม่ทำแบบฝึกหัดส่ง หลาย ๆ คนยอมให้ครูทำโทษทุกวัน และไม่มาโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่ครูผู้สอนจะต้องหาเทคนิควิธีการมาใช้ในการสอน ทำอย่างไรให้ได้ใจนักเรียนเพื่อเปลี่ยนทัศนคติให้ผู้เรียนชอบเรียนคณิตศาสตร์และทำการบ้านส่งทุกครั้ง ด้วยความสมัครใจการทำการบ้านส่งทำให้ครูทราบปัญหาที่นักเรียนไม่เข้าใจได้อธิบายเพิ่มเติม
.
แนวคิดและหลักการ
การจัดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยจูงใจให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด เรื่องการบวกจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน100,000 แบบไม่มีตัวทด เป็นการเรียนรู้ที่คำนึงถึงศักยภาพ และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยสอนจากง่ายไปหายาก ให้นักเรียนคิดโจทย์เอง กำหนดกติกาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ให้มีการแข่งขัน ที่แบ่งผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันออกเป็นกลุ่มเพื่อทำงานร่วมกัน ทำให้นักเรียนสนุกสนาน ครูผู้สอนใช้เทคนิคการเสริมแรง เช่นการให้คำชมเชย การให้รางวัล เป็นต้น

วิธีดำเนินการ
1 การจัดเตรียมเนื้อหาสาระให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากง่ายไปหายากเป็นการปูพื้นฐาน เริ่มจาการบวกจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน10 , ไม่เกิน 100 ไม่เกิน 1,000 ไม่เกิน 10,000 ไม่เกิน 100,000 แบบไม่มีตัวทด
2. ครูสอนเนื้อหาที่เตรียมไว้ โดยยกอย่างง่าย ๆ ที่เด็กทุกคนทำได้ก่อน หลาย ๆ ตัวอย่าง ๆ จนนักเรียนเข้าใจการบวก เกิดความสนุกสนาน เริ่มมีความรู้สึกว่าการบวกเลขไม่ยากอย่างที่คิด
3. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดรายบุคคล โดยกำหนดกติกาง่าย ๆ เช่น ให้นักเรียนกำหนดโจทย์การบวกที่มีผลบวกไม่เกิน 100 แบบไม่มีตัวทด โดยให้นักเรียนแต่ละคนกำหนดโจทย์การบวกเอง โดยใช้เลข 0 1 2 3 4 มาสร้างโจทย์ ( ป้องกันไม่ให้นักเรียนลอกกัน ) คนละ 2 ข้อ ใช้เวลา 20 นาที นักเรียนทุกคนจะทำเสร็จตามกำหนดเวลา เพราะง่ายมีเวลามาก ครูเสริมแรงให้คำชมเชย นักเรียนก็อยากทำอีก

2. การตรวจผลงานครูจะตกลงกับนักเรียนว่าคนส่งทันตามกำหนดก็จะไม่ถูกทำโทษ เมื่อพบนักเรียนทำผิดก็ไม่ทำโทษ แต่จะเรียกมาอธิบายเพิ่มเติม ให้ไปทำมาใหม่ นักเรียนก็มีกำลังใจทำมากขึ้น
4. ครูเพิ่มกติกามากขึ้น โดยกำหนดเวลาให้น้อยลง จำนวนข้อเท่าเดิม เช่น ให้นักเรียนกำหนดโจทย์การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 1,000 แบบไม่มีตัวทด โดยใช้เลข 0 1 2 3 4 ไม่ซ้ำกัน มาสร้างโจทย์ คนละ 2 ข้อ ใช้เวลา 15 นาที
5. ครูเพิ่มกติกามากขึ้นเรื่อย ๆ กำหนดเวลาให้น้อยลง จำนวนข้อเพิ่มขึ้น ผลบวกมากขึ้น
6. เมื่อนักเรียนเข้าใจ สามารถทำกิจกรรมที่ครูกำหนดได้ ก็จะซื้อใจนักเรียนได้ ทำให้เขาชอบวิชาคณิตศาสตร์ อยากทำแบบฝึกหัดมากขึ้นมากขึ้น
7. ครูวิเคราะห์แบบฝึกหัดที่นักเรียนทำส่งก็จะทราบข้อบกพร่องของนักเรียนทุกคน จุดใดที่ผิดเหมือนกันหลายคนก็จะสอน และอธิบายใหม่บนกระดานดำ จุดใดที่ผิดเป็นรายบุคคลก็เรียกมาอธิบายใหม่เป็นรายบุคคล
8. เมื่อนักเรียนเข้าใจทำแบบฝึกหัดได้แล้วแบ่งกลุ่มนักเรียนโดยคละเพศ คละความสามารถเก่ง-อ่อน ให้นักเรียนแข่งขันกัน ตามกติกา เช่น ให้คิดโจทย์การบวกกลุ่มละ 5 ข้อ แล้วแลกเปลี่ยนกันหาคำตอบ เปลี่ยนกันตรวจ กำหนดหลักเกณฑ์การให้คะแนน แข่งขันกันเป็นกลุ่ม ให้รางวัลแก่กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด


ผลการพัฒนา
1. ผู้เรียนมีความตื่นเต้น สนุกสนานกับการเรียนรู้
2. ผู้เรียนมีความเอาใจใส่รับผิดชอบตนเอง และกลุ่มร่วมกับสมาชิกอื่น
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันได้เรียนรู้ร่วมกัน ฝึกการเป็นผู้นำ ฝึกทักษะกระบวนการกลุ่ม
4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงขึ้น
flower

ขึ้นไปข้างบน  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ